Protocol Review

(ขั้นตอนการขอพิจารณาโครงการ)

ผู้วิจัยส่งเอกสารประกอบการพิจารณาจรรยาบรรณฯ มายังประธานอนุกรรมการจรรยาบรรณ การวิจัยในสัตว์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


หลักเกณฑ์การพิจารณาจรรยาบรรณการใช้ซากสัตว์


1. โครงการวิจัยที่มีความประสงค์จะใช้ชิ้นเนื้อหรือซากจากสัตว์ที่มีแหล่งที่มาที่ชัดเจน ได้แก่ สถานที่ที่ได้รับอนุญาตให้จำหน่ายเนื้อสัตว์ หรือฟาร์มที่ได้รับการขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยชิ้นเนื้อหรือซากจากสัตว์นั้น ไม่ได้เข้าข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง* ไม่ต้องขอรับการพิจารณาจรรยาบรรณการใช้ซากสัตว์ทดลอง/ชิ้นตัวอย่างจากสัตว์ทดลอง จากคณะอนุกรรมการฯ


2. โครงการวิจัยที่มีความประสงค์จะใช้ชิ้นเนื้อหรือซากจากสัตว์จากโครงการเลี้ยงและใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ที่มีการดำเนินการอยู่โดยที่โครงการฯนั้นยังไม่หมดอายุ และโครงการฯที่มีการขอต่ออายุ (Active Protocol) ผู้วิจัยสามารถขอแก้ไขเพิ่มเติมโครงการ (Amendment) ในโครงการฯนั้นๆ โดยไม่ต้องขอรับการพิจารณาจรรยาบรรณการใช้ซากสัตว์ทดลอง/ชิ้นตัวอย่างจากสัตว์ทดลอง จากคณะอนุกรรมการฯ


3. โครงการวิจัยที่มีความประสงค์จะใช้ชิ้นเนื้อหรือซากจากสัตว์จากโครงการเลี้ยงและใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ที่เสร็จสิ้น หรือหมดอายุโครงการฯไปแล้ว (Terminated Protocol) โดยเป็นชิ้นเนื้อหรือซากจากสัตว์ที่ไม่ติดเชื้อ และผู้วิจัยท่านเดิมไม่ประสงค์จะต่ออายุโครงการแล้ว ผู้วิจัยท่านใหม่ที่มีความประสงค์จะใช้ชิ้นเนื้อหรือซากจากสัตว์จากโครงการฯ เดิมนั้น ผู้วิจัยท่านนั้นต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้อนุกรรมการฯรับทราบ แต่ไม่ต้องขอรับการพิจารณาจรรยาบรรณการใช้ซากสัตว์ทดลอง/ชิ้นตัวอย่างจากสัตว์ทดลอง จากคณะอนุกรรมการฯ


4. โครงการวิจัยที่มีความประสงค์จะใช้ชิ้นเนื้อหรือซากจากสัตว์ที่มีแหล่งที่มาที่ชัดเจน แต่เป็นซากสัตว์ติดเชื้อ ซากสัตว์ของสัตว์ที่เป็นโรคระบาด หรือซากสัตว์ที่มีเหตุอันควรสงสัยว่ามีเชื้อโรคระบาดตามพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ.๒๕๕๘ ผู้วิจัยต้องดำเนินการเคลื่อนย้ายหรือขนส่งซากสัตว์ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง “ขั้นตอนการนำเข้าส่งออก/การเคลื่อนย้ายสัตว์และซากสัตว์” ตามลิงค์ข้อมูลดังนี้ คลิกนอกจากนี้ ผู้วิจัยต้องขอรับการพิจารณาจรรยาบรรณการใช้ซากสัตว์ทดลอง/ชิ้นตัวอย่างจากสัตว์ทดลอง จากคณะอนุกรรมการฯ โดยใช้แบบฟอร์มการขอรับการพิจารณาจรรยาบรรณการใช้ซากสัตว์ทดลอง/ชิ้นตัวอย่างจากสัตว์ทดลอง (IACUC-TU-FM-02) และผู้วิจัยต้องส่งเอกสารการขอรับการพิจารณาจากคณะกรรมการความปลอดภัยทางชีวภาพ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้คณะอนุกรรมการฯ รับทราบเมื่อครบกำหนดรายงานความก้าวหน้าทุก 6 เดือน


5. โครงการวิจัยที่มีความประสงค์จะใช้ชิ้นเนื้อหรือซากจากสัตว์ที่มีแหล่งที่มาไม่ชัดเจนนอกเหนือจากข้อ 5.3.1 ผู้วิจัยต้องดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง* นอกจากนี้ ผู้วิจัยต้องขอรับการพิจารณาจรรยาบรรณการใช้ซากสัตว์ทดลอง/ชิ้นตัวอย่างจากสัตว์ทดลอง จากคณะอนุกรรมการฯ โดยใช้แบบฟอร์มการขอรับการพิจารณาจรรยาบรรณการใช้ซากสัตว์ทดลอง/ชิ้นตัวอย่างจากสัตว์ทดลอง (IACUC-TU-FM-02) และผู้วิจัยต้องส่งขอรับการพิจารณาจากคณะกรรมการความปลอดภัยทางชีวภาพ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้คณะอนุกรรมการฯ รับทราบเมื่อครบกำหนดรายงานความก้าวหน้าทุก 6 เดือน


*กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ พ.ร.บ.โรคระบาดสัตว์ พ.ศ.๒๕๕๘, พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2557, ร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพของเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ ฯลฯ

เอกสารประกอบการพิจารณา

###เอกสารจำนวน
1บันทึกข้อความ1 ชุด
2 2.1 แบบฟอร์มการขอรับการพิจารณาจรรยาบรรณการใช้สัตว์ทดลอง
(IACUC-TU-FM-01) Download

2.2 แบบฟอร์มการขอรับการพิจารณาจรรยาบรรณการใช้สัตว์เกษตรและสัตว์ธรรมชาติ
(IACUC-TU-FM-01-Ag) Download

2.3 แบบฟอร์มการขอรับการพิจารณาจรรยาบรรณการใช้สัตว์น้ำ
(IACUC-TU-FM-01-AquaticAnimal) Download

2.4 แบบฟอร์มการขอรับการพิจารณาจรรยาบรรณการใช้แมลง/แมง
(IACUC-TU-FM-01-Insect) Download

2.5 แบบฟอร์มการขอรับการพิจารณาจรรยาบรรณการใช้ซากสัตว์/ชิ้นตัวอย่างจากสัตว์ทดลอง
(IACUC-TU-FM-02) Download
1 ชุด
3แบบประเมินความเสี่ยงจากการปฏิบัติงานของโครงการวิจัยที่มีการใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (IACUC-TU-FM-11) Download (แนบพร้อมกับแบบเสนอโครงการในครั้งแรก) 1 ชุด
4แบบฟอร์มสำหรับบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่ไม่ได้มีการดําเนินการเลี้ยงและใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ภายในมหาวิทยาลัย Download (ไม่ได้เลี้ยงใน มธ)1 ชุด
5โครงการวิจัยฉบับสมบรูณ์1 ชุด
6กรณีเป็นนักศึกษา ขอให้ส่งเอกสารเพิ่มเติม ดังนี้
6.1 รูปเล่มโครงร่างการวิจัยที่สอบผ่านเค้าโครงแล้ว 1 ชุด
6.2 แบบอนุมัติการสอบโครงร่างการวิจัย 1 ชุด
6.3 ประวัติที่ปรึกษาโครงการวิจัย
7แผ่นบันทึกข้อมูลดิจิตอล (CD/DVD) ของเอกสารทั้งหมด1 แผ่น
8ใบอนุญาตใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์1 ชุด

download แบบฟอร์มเอกสาร

1. แบบฟอร์มการขอรับการพิจารณาจรรยาบรรณการใช้สัตว์ทดลอง (IACUC-TU-FM-01)

2. แบบฟอร์มการขอรับการพิจารณาจรรยาบรรณการใช้สัตว์เกษตรและสัตว์ธรรมชาติ (IACUC-TU-FM-01-Ag)

3. แบบฟอร์มการขอรับการพิจารณาจรรยาบรรณการใช้สัตว์น้ำ (IACUC-TU-FM-01-AquaticAnimal)

4. แบบฟอร์มการขอรับการพิจารณาจรรยาบรรณการใช้แมลง/แมง (IACUC-TU-FM-01-Insect)

5. แบบฟอร์มการขอรับการพิจารณาจรรยาบรรณการใช้ซากสัตว์/ชิ้นตัวอย่างจากสัตว์ทดลอง (IACUC-TU-FM-02)

6. แบบประเมินความเสี่ยงจากการปฏิบัติงานของโครงการวิจัยที่มีการใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (IACUC-TU-FM-11)

7.แบบฟอร์มสำหรับบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่ไม่ได้มีการดําเนินการเลี้ยงและใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ภายในมหาวิทยาลัย


วิธีการยื่นเอกสาร

1. ยื่นด้วยตนเองที่ศูนย์สัตว์ทดลอง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต

2. ส่งตามระบบสารบรรณ/ทางไปรษณีย์ ส่งมายังประธานอนุกรรมการจรรยาบรรณการวิจัยในสัตว์ศูนย์สัตว์ทดลอง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต เลขที่ 99 หมู่ 18 ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานีรหัสไปรษณีย์

3. ส่งทางอีเมล์ที่ naksuk_11@hotmail.com (คุณศรายุทธ นาคสุข )

ฝ่ายเลขานุการตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของเอกสาร โดยไม่รับพิจารณาโครงการที่หัวหน้าโครงการและผู้รับผิดชอบปฏิบัติงานกับสัตว์ไม่ผ่านการอบรมจรรยาบรรณการใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์และไม่มีใบอนุญาตใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ พร้อมทั้งเสนอประธานอนุกรรมกาารจรรยาบรรณฯ เพื่อคัดเลือกอนุกรรมการจรรยาบรรณฯ ผู้พิจารณาโครงการฯ(Review) จำนวน 3 ท่าน

คุณสมบัติหัวหน้าโครงการ/ผู้ร่วมวิจัย

หัวหน้าโครงการ

ผู้ร่วมโครงการ

  • ผ่านการอบรมจรรยาบรรณ

อนุกรรมการที่ได้รับมอบหมายให้พิจารณาโครงการ (Reviewer) พิจารณาโครงการตามข้อกำหนดของประเทศและสากล
โดยพิจารณาตามแบบฟอร์ม IACUC-TU-FM-01 โดยผู้วิจัยสามารถดูหลักเกณฑ์การพิจารณาของคณะอนุกรรการได้ที่นี่

อนุกรรมการจรรยาบรรณฯ ส่งผลการพิจารณากลับให้เลขานุการเพื่อเสนอประธานอนุกรรมการจรรณยาบรรณฯ นัดประชุมคณะอนุกรรมการจรรยาบรรณฯ เพื่อให้อนุกรรมการจรรยาบรรณฯ (Review) 3 ท่าน ชี้แจงผลการพิจารณาและขอให้ที่ประชุมลงมติการพิจารณา

กำหนดการประชุม

คณะอนุกรรมการจรรยาบรรณและติดตามโครงการเลี้ยงและ ใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ครั้งที่วันที่ประชุม
1 16 มกราคม 2561
2 13 กุมภาพันธ์ 2561
3 13 มีนาคม 2561
4 10 เมษายน 2561
5 8 พฤษภาคม 2561
6 12 มิถุนายน 2561
7 10 กรกฎาคม 2561
8 14 สิงหาคม 2561
9 11 กันยายน 2561
10 9 ตุลาคม 2561
11 13 พฤศจิกายน 2561
12 18 ธันวาคม 2561

เลขานุการ แจ้งมติที่ประชุมแก่นักวิจัย

มติที่ประชุม

### มติ การดำเนินการ
1 รับรองโดยไม่มีการแก้ไข นำเข้าประชุมคณะกรรมการกำกับฯ อุนมัติโครงการเลี้ยงและใช้สัตว์ฯ
2 รับรองหลังแก้ไข ผู้วิจัยแก้ไขโครงการแล้วเสร์จ จึงนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการกำกับฯ
3 แก้ไข/ส่งใหม่ ผู้วิจัยทำการแก้ไขโรงการ แล้วจึงนำเข้าที่ประชุมคณะอนุกรรมการจรรยาบรรณและติดตามโครงการเลี้ยงและ ใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ อีกครั้ง
4 ไม่ให้การรับรอง แจ้งผู้วิจัย

เลขานุการนำโครงการที่ผ่านการรับรอง เข้าประชุมคณะกรรมการกำกับดูแลและใช้สัตว์ เพื่อออกใบอนุมัติโครงการเลี้ยงและใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์

กำหนดการประชุม

คณะกรรมการกำกับดูแลการเลี้ยงและใช้สัตว์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ครั้งที่วันที่ประชุม
1 12 กุมภาพันธ์ 2561
2 9 เมษายน 2561
3 11 มิถุนายน 2651
4 15 สิงหาคม 2561
5 8 ตุลาคม 2561
6 17 ธันวาคม 2561