Post Approval Monitoring

(ขั้นตอนการติดตามโครงการ)

ข้อปฏิบัติสำหรับผู้วิจัยที่ได้รับการอนุมัติโครงการ

เอกสารข้อปฏิบัติ

กำหนดให้ผู้วิจัยรายงานความก้าวหน้าทุก 6 เดือน โดยส่งเอกสารดังนี้

เอกสารประกอบรายงานความก้าวหน้า

### เอกสาร จำนวน
1 บันทึกข้อความ 1
2 2.1 แบบฟอร์มรายงานความก้าวหน้าของการวิจัย Semi-Annual Progress Report Form(IACUC-TU-FM-04) Download (โปรดระบุข้อมูลให้ครบทุกช่อง) หรือ
3
3 เอกสารอื่นๆ (ถ้ามี) 1

download แบบฟอร์มเอกสาร


วิธีการยื่นเอกสาร

1. ยื่นด้วยตนเองที่ศูนย์สัตว์ทดลอง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต

2. ส่งตามระบบสารบรรณ/ทางไปรษณีย์ ส่งมายังประธานอนุกรรมการจรรยาบรรณการวิจัยในสัตว์ศูนย์สัตว์ทดลอง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต เลขที่ 99 หมู่ 18 ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานีรหัสไปรษณีย์

คณะอนุกรรมการจรรยาบรรณและติดตามโครงการเลี้ยงและใชสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

จะเขาตรวจเยี่ยมโครงการเลี้ยงและใชสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ที่ดําเนินการ ภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทุก 3 หรือ 6 เดือน โดยอาจนัดหมายผูวิจัยลวงหนาเขารวมชี้แจงหรือไม่ก็ได้

ทั้งนี้โครงการเลี้ยงและใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ที่มีระยะเวลาดําเนินการน้อยกวา 3 เดือน คณะอนุกรรมการติดตามผลโครงการวิจัยในสัตว์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตว์ จะสุ่มเข้าตรวจเยี่ยม

เกณฑ์การจำแนกความถี่ของการติดตามผลโครงการวิจัยในสัตว์ โดยอนุกรรมการติดตามและสัตวแพทย์ที่ได้รับมอบหมาย

อนุกรรมการติดตามผลโครงการวิจัยในสัตว์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กำหนดความถี่ของการติดตามผลโครงการวิจัยในสัตว์โดยอาศัยเกณฑ์การจำแนกระดับความเจ็บปวดและทุกข์ทรมานในสัตว์ทดลอง (USDA pain and distress categories) ดังนี้


โครงการที่ต้องมีการติดตามกำกับดูแลทุก 6 เดือน ได้แก่
กลุ่ม B : สัตว์ทดลองถูกนำมาเพาะขยายพันธ์ ปรับสภาพ เลี้ยง เพื่อใช้ในงานการเรียน การสอน งานทดสอบ งานทดลอง งานวิจัยหรืองานศัลยศาสตร์ แต่ยังไม่นำไปใช้ใน วัตถุประสงค์เหล่านั้น มีการสังเกตสัตว์ทดลองในสภาพความเป็นอยู่ธรรมชาติ
กลุ่ม C : สัตว์ทดลองถูกนำไปใช้ในงานวิจัยที่ไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดทุกข์ทรมาน เกิดความเจ็บปวดทุกข์ทรมานขึ้นเพียงชั่วขณะหรือเกิดความเจ็บปวดทุกข์ทรมานขึ้นเพียง เล็กน้อย โดยไม่จำเป็นต้องให้ยาลดปวด
โครงการที่ต้องมีการติดตามกำกับดูแลทุก 3 เดือน ได้แก่
กลุ่ม D : สัตว์ทดลองถูกนำไปใช้ในงานวิจัยที่ก่อให้เกิดความเจ็บปวด ความทุกข์ทรมานมาก จำเป็นต้องให้ยาสลบ ยาระงับปวดหรือยากล่อมประสาท
กลุ่ม E : สัตว์ทดลองถูกนำไปใช้ในงานวิจัยท่ก่อให้เกิดความเจ็บปวด ความทุกข์ทรมาน โดยไม่สามารถให้ยาสลบ ยาระงับปวด หรือยากล่อมประสาท ทั้งนี้ต้องมีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์รองรับและได้รับความเห็นชอบจากคณะอนุกรรมการจรรยาบรรณการวิจัยในสัตว์


กรณีที่ผู้วิจัยไม่ได้มีการดําเนินการเลี้ยงและใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ผู้วิจัยต้องดําเนินการนําส่งเอกสาร แก่คณะอนุกรรมการจรรยาบรรณและติดตามโครงการเลี้ยงและใช่สัตว์เพื่อ งานทางวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดังต่อไปนี้


1. กรณีสถานที่นั้นมีคณะกรรมการกํากับดูแลการเลี้ยงและใช้สัตว์ของสถาบัน (คกส.)

1.1 นําส่งสําเนาใบรับรองการอนุมัติให้ดําเนินการเลี้ยงและใช้สัตว์ (Certificate of Approval Animal Protocol) ณ สถานที่นั้นๆ

1.2 นําส่งใบรายงานความก้าวหน้าโครงการเลี้ยงและใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ (SemiAnnual Progress Report Form) ทุก 6 เดือน ที่มีการลงนามโดยผู้ดูแลสถานที่นั้นๆ เพื่อรับรองวาได้มี การดําเนินการเลี้ยงและใช้สัตว์จริง

2. กรณีการศึกษาในฟาร์มการเกษตร (Agriculture Farm Study)

2.1 นําส่งสําเนาใบรับรองมาตรฐานฟาร์ม และ/หรือ

2.2 นําส่งสําเนาใบสัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์ม และ/หรือ

2.3 กรณีฟาร์มทดลองอาจพิจารณานําส่งเอกสารอื่นๆ ที่แสดงถึงการควบคุมดูแลฟาร์มโดย ผู้รับผิดชอบสถานที่นั้นๆ

2.4 นําส่งใบรายงานความก้าวหน้าโครงการเลี้ยงและใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร) (SemiAnnual Progress Report Form) ทุก 6 เดือน ที่มีการลงนามโดยผู้ดูแลสถานที่นั้นๆ เพื่อรับรองว่าได้มี การดําเนินการเลี้ยงและใช้สัตว์จริง

3. กรณีการศึกษาภาคสนาม (Field Study) ผู้วิจัยต้อง:

3.1 นําส่งสําเนาใบขออนุญาตข้อใช้พื้นที่นั้นๆ และ/หรือ

3.2 นําส่งเอกสารที่แสดงถึงการเขาใช้พื้นที่นั้นๆเพื่อจุดประสงค์ของโครงการใช้สัตว์เพื่องานทาง วิทยาศาสตร์

3.3 นําส่งใบรายงานความก้าวหน้าโครงการเลี้ยงและใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ (SemiAnnual Progress Report Form) ทุก 6 เดือน ที่มีการลงนามโดยผู้ดูแลสถานที่นั้นๆ เพื่อรับรองว่าได้มี การดําเนินการเลี้ยงและใช้สัตว์จริง

***คณะอนุกรรมการจรรยาบรรณและติดตามโครงการเลี้ยงและใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีสิทธิ์เขาสุ่มตรวจเยี่ยมสถานที่ที่มีการใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ตาม ความเหมาะสมได้

ต่ออายุโครงการ

เมื่อผู้วิจัยดำเนินโครงการวิจัยในสัตว์เสร็จสิ้นแล้ว ให้ดำเนินการแจ้งปิดโครงการวิจัยที่มีการใช้สัตว์ทดลอง ภายในระยะเวลา 1 เดือน

เอกสารประกอบแจ้งปิดโครงการ

### เอกสาร จำนวน
1 บันทึกข้อความ 1
2 2.1 แบบฟอร์มแจ้งปิดโครงการ Animal Care and Use Committee Protocol Termination Request Form (IACUC-TU-FM-10) Download (โปรดระบุข้อมูลให้ครบทุกช่อง) หรือ
3
3 เอกสารอื่นๆ (ถ้ามี) 1

download แบบฟอร์มเอกสาร


วิธีการยื่นเอกสาร

1. ยื่นด้วยตนเองที่ศูนย์สัตว์ทดลอง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต

2. ส่งตามระบบสารบรรณ/ทางไปรษณีย์ ส่งมายังประธานอนุกรรมการจรรยาบรรณการวิจัยในสัตว์ศูนย์สัตว์ทดลอง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต เลขที่ 99 หมู่ 18 ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานีรหัสไปรษณีย์